#FRIART : Ostentatio Genitalium กระจู๋ศักดิ์สิทธิ์ภาค 2

FRIART ศิลป์ศุกร์สนุกดีค่ำนี้ว่าด้วยภาคต่อของ “กระจู๋” ของพระคริสต์ เรื่องลับๆ ที่ไม่ลึก ความศักดิ์สิทธิ์ที่เคยถูกสงวนของพระเยซูในงานศิลปะ

จาก “การนมัสการของเหล่าโหราจารย์” (The Adoration of the Magi) ประเด็นเกี่ยวกับการโชว์เครื่องเพศอาจไม่เห็นชัดนัก เลยขอต่อกันด้วยฉาก “การถวายพระกุมารในพระวิหารและพิธีเข้าสุหนัต” (The Presentation in the temple, and the Circumcision of Christ) เฉกเช่นเดียวกับทารกชายในศาสนายิว เมื่อครบ 8 วันหลังจากเกิด จำต้องนำเด็กชายเข้าพิธีขลิบเปลือกหุ้มตามธรรมบัญญัติของโมเสส

ถือเป็นเหตุการณ์เล็กๆ ในภาพชุดพระประวัติของพระเยซู (The Life of Christ) ที่แพร่หลายกันมานับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 10 โดยจากเล่าตั้งแต่ฉากการตั้งครรภ์ของแม่พระไปจนถึงการฟื้นคืนหลังความตายในวันอีสเตอร์ ฉากการเข้าพิธีสุหนัตถึงเป็นฉากสำคัญที่ชี้ถือสถานะความเป็นมนุษย์ได้ดี (ซึ่งเคยเป็นข้อถกเถียงสำคัญในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 จนสภาแห่ง Chalcedon สรุปให้พระองค์ทรงมีทั้งสถานะของมนุษย์และพระเจ้าควบคู่กันไป)

แม้แต่ในข้อสังเกตของ Leo Steinberg นักประวัติศาสตร์ศิลป์ผู้เขียน “The Sexuality of Christ in Renaissance Art and in Modern Oblivion จากปี 1983 ซึ่งอธิบายถึงการเพศสภาวะของพระเยซูในช่วงฟื้นฟูศิลปวิทยา โดยกล่าวว่าภาพเขียนเกี่ยวกับพิธีสุหนัตในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14 มักมีวาดทับเป็นเงาคล้ายภาพบางปิดทับเครื่องเพศไว้ ทว่าครึ่งหลังของศตวรรษกลับเปิดโล่ง โชว์เครื่องเพศเต็มที่

Luca Signorelli, Circumcision of Christ,1491
commissioned by the Confraternity of the Holy Name of Jesus in Volterra. Retrieved 7 January 2022, from Wikimedia

เรียกได้จากกระจู๋ที่เคยถูกปิดบังจำต้องเผยออกให้เห็นอย่างเด่นชัด เพื่อเชื่อมโยงความคิดเกี่ยวกับสถานะความเป็นมนุษย์ + ความตายของพระคริสต์ในฐานะพระผู้ไถ่ในภายภาคหน้านั่นเอง

Fra Angelico, Circumcision, details from Paintings of the Armado deli Argenti,
Tempera on Panel, Basilica di San Marco, Florence, Italy.
Retrieved 7 January 2022, from Wikimedia

Featured Image : Friedrich Herlin of Nördlingen, Circumcision of Christ, detail from Twelve Apostles Altar (Zwölf-Boten-Altar),1466, Rothenburg ob der Tauber.

ใส่ความเห็น

Please log in using one of these methods to post your comment:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.