Lilith ปีศาจแห่งราตรีของชายหนุ่ม แต่เป็นรุ่งอรุณแห่งสตรีนิยมโลกใหม่

ถ้าเรียกตัวเองว่า Feminist ในฐานะนักเคลื่อนไหวด้านสตรีนิยม ทุกคนจะคุ้นเคยกับบุคคลในความเชื่อและประวัติศาสตร์โบราณอย่าง “ลิลิธ” สตรีที่นักเคลื่อนไหวยุค 1960s หยิบยกเอามาใช้เพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการเรียกร้องความเท่าเทียมกันในสังคมไปจนถึงการรื้อสร้างแนวคิดเจือปนระบอบปิตาธิปไตยในงานเขียนวิชาการและการตีความอดีต

เฟมินิสม์ในยุคนั้นใช้ภาพของลิลิธในฐานะภรรยาที่ถูกลืมของอาดัม เนื่องจากลิลิธไม่ใช่ภรรยาที่ยอมสยบต่ออำนาจของสามี แต่มีความคิดเป็นของตัวเองและพยายามแสดงออก นั่นทำให้คริสต์ศาสนิกชนมองว่าไม่สมควรและแทนที่ “ภรรยาที่เพียบพร้อม” ของอาดัมใหม่ด้วย “อีฟ” มาเป็นสัญญะในการเรียกร้องสิทธิสตรี

แม้ลิลิธจะมีรากความเชื่อมาจากปีศาจจริงๆ ในช่วงยุคก่อนคริสตกาลและพระคัมภีร์ ซึ่งปรากฏในแถบแอ่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟนตีส แต่ส่วนที่นักสตรีนิยมนำมาใช่กันคือช่วงเรื่องราวของลิลิธซึ่งถูกเซ็นเซอร์ออกไปจากพระคัมภีร์ไบเบิ้ลของคริสต์ แต่จะปรากฏนามนี้หลายครั้งในคัมภีร์ทัลมุด (Talmud) ของชาวยิว

EVE AND LILITH. Lilith tempting eve with an apple in the Garden of Eden. Woodcut, German, 1470.
uploaded by Granger on June 6th, 2017.

สิ่งเดียวที่ยังพอหลงเหลือชื่อของลิลิธในไบเบิ้ล “แค่ครั้งเดียว” คือในพระคัมภีร์พันธสัญญาเก่า พระธรรมอิสยาห์บทที่ 34 ข้อที่14 โดยในการแปลเป็นภาษาอังกฤษแม้แต่ชื่อของลิลิธก็ยังโดนแทนด้วยคำที่ดูชั่วร้ายอย่าง “The Night Creature” จากฉบับคิงเจมส์, “The Night Bird” ในฉบับ Standard English แต่ฉบับ International Standard Version เป็นเพียงฉบับเดียวที่ใช้คำว่า “Lilith” อย่างชัดเจน ซึ่งก็คงออกมาเนื่องจากมีการแปลต้นฉบับฮิบรูใหม่โดยแก้ไข “ความเข้าใจผิด” ในการแปลชื่อของลิลิธจนกลายเป็นสิ่งมีชีวิตอื่นไป (จ้ะ)

LILITH, 1891. ‘Lilith.’ Oil on canvas by Kenyon Cox, 1891.
The Miriam and Ira D. Wallach Division of Art, Prints and Photographs: Picture Collection

ส่วนที่เป็นเนื้อหาช่วยขยี้ความร้อนสวาทและชั่วร้ายของลิลิธมาจากคัมภีร์ทัลมุด หลายส่วนที่แสดงเนื้อหาว่าเธอถูกสร้างมาแบบเดียวกับอดัม ไม่เหมือนอีฟที่เอาซี่โครงของอดัมไปสร้าง นิสัยของลิลิธคือการแสดงตัว “ทัดเทียมกับอดัม” ไม่ยอมศิโรราบต่อสามี ไม่พอยังดื้อดึงแบบไม่สนอะไรและหนีจากอดัมเป็นเดือดเป็นร้อนให้พระเจ้าปวดหัว ฟังแบบนี้ดูยังไงก็เยอะ แต่ยังไม่จบเมื่อลงท้ายแล้วลิลิธถูกสาปให้กลายเป็นพระมารดาแห่งเหล่าปีศาจไป ลูกของเธอกี่คนๆ เกิดขึ้นมาก็จะกลายเป็นผีที่จะคอยไปทำร้ายผู้คนในยามค่ำคืน เป็นการลงโทษต่อความ “ดื้อ” ของเธอ

Lady Lilith (c1866) by Dante Gabriel Rossetti
Dante Gabriel Rossetti, Public domain, via Wikimedia Commons

อิทธิพลที่สร้างภาพชั่วๆ ของแนวคิดนี้ก็มาจาก Ben Sira อาลักษณ์ชาวยิวที่มีอายุเมื่อราว200ปีก่อนคริสตกาล ในการอธิบายขยี้เกี่ยวกับเหตุเพิ่มเติมในคัมภีร์อีกว่า “ชีไม่ยอมอยู่ล่างแต่อยากอยู่บนเวลาร่วมเพศ” อห. เผ็ชดีไหมคะคุณ กับสมัยนี้คงมองธรรมดา แต่กับสังคมที่สอนให้ร่วมเพศท่ามิชชันนารีดีและไม่บาป ความจุกจิกนี้มีอิทธิพลทางความเชื่อและมุมมองของคนต่อเพศไม่ไกลเกินไปที่มองว่าเป็นเรื่องชั่วร้ายค่ะ

ชะตากรรมคุ้นๆ เนอะ การที่ถูกเบียดบังออกไปจากบริบททางสังคมและตีตราว่าเป็นสิ่งมีชีวิตยามค่ำคืนไปจนถึงสัตว์ร้าย (แม้บางฉบับจะแปลชื่อเธอด้วยคำว่า Night owl ที่ดูน่ารักก็ตาม) สตอรี่นี้ก็ทำให้นักสตรีนิยมถูกใจใช่เลยว่าในการเรียกร้องให้สังคมมีการตีความบทบาทสตรีกันเสียใหม่ ให้มองผู้หญิงในความทัดเทียมทางจริยธรรมและกฏหมาย ไม่เพียงมองว่าผู้หญิงเป็นสิ่งมีชีวิตที่ต่ำทรามและควรได้รับการเลี้ยงดูให้อยู่ในทำนองคลองธรรมด้วยอิทธิพลของผู้ชาย ประเด็นเรื่องราวของ Lilith นี่แหละที่จะเป็นตัวอย่างและสัญญะ (Symbolic Figure) ที่ให้ภาพชัดเจนมากกว่าสิ่งใดในซีกโลกตะวันตก ตัวแม่ในแนวคิดสตรีนิยมคนนึงอย่าง Judith Plaskow ที่เป็นสาวยิวคนแรกที่เริ่มรณรงค์เรื่องสิทธิ ไม่รอช้าที่จะหยิบประเด็นการแปลที่คลาดเคลื่อนและความหมายที่เปลี่ยนไปของลิลิธมาเป็นส่วนในการเคลื่อนไหว

กล่าวได้ว่าจากที่ลิลิธเป็นเพียงสิ่งมีชีวิตเลวร้ายที่อาศัยความมืดเล่นงานคน กลายเป็นรุ่งอรุณในการเริ่มกระตุ้นการตีความเรื่องเพศใหม่ในระยะคลื่นลูกแรกของแนวคิดสตรีนิยมที่เคลื่อนไหวเพื่อการเมืองและสังคม

John Collier, Public domain, via Wikimedia Commons

Featured Image : Lilith ฝีมือ John Collier (ค.ศ.1892) wikicommon CC0

อ้างอิง
https://www.bible.com/th/bible/174/ISA.34.THSV11
https://biblehub.com/isaiah/34-14.htm
https://jwa.org/encyclopedia/article/lilith
https://jwa.org/encyclopedia/article/plaskow-judith

ใส่ความเห็น

Please log in using one of these methods to post your comment:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.