ภาพประกอบจาก The Sun

มาชมใบหน้าของ Agvi สาวจากกรีซเมื่อ 9,000 ปีที่แล้ว

ทางทีมวิทยาศาสตร์ได้ทำการฟื้นฟูใบหน้าของหญิงสาวซึ่งค้นพบในถ้ำประเทศกรีซ เชื่อกันว่าเธอมีชีวิตอยู่ในรอยต่อของยุคล่าสัตว์-หาของป่าและการเริ่มต้นยุคสังคมกสิกรรมของดินแดนในแถบนั้น

ภาพประกอบหน้าปกจาก เดอะ ซัน : https://www.thesun.co.uk/tech/5412935/teenager-9000-years-old-face-reconstructed-scientists/

เธอชื่อ Agvi เป็นภาษากรีกซึ่งแปลว่ารุ่งอรุณในภาษาอังกฤษ นักโบราณคดีเลือกชื่อนี้เพื่อให้เป็นเหมือนสัญลักษณ์ของยุคสมัยที่เธอมีชีวิตอยู่ อันจัดว่าเป็นจุดเริ่มต้นของอารยธรรมโบราณ ปกติสำหรับนักโบราณคดีต่างประเทศที่มักจะตั้งชื่อให้กับหลักฐานประเภทโครงกระดูกสำคัญ โดยเฉพาะที่ต้องเกี่ยวข้องกับการศึกษาในฐานะชิ้นส่วนสำคัญซึ่งช่วยเติมเต็มอดีต อย่างกรณีนี้ Agvi จัดว่าเป็นบุคคลในอดีตที่มีส่วนช่วยให้นักโบราณคดีเข้าใจเกี่ยวกับมนุษย์ในอดีตและสังคมที่เธออยู่ซึ่งมีอายุมากว่า 9,000 ปีที่แล้ว การตั้งชื่อจะทำให้นักโบราณคดีมีความตระหนักและผูกพันกับเธอในฐานะมนุษย์มากกว่าเพียงการเป็นหลักฐานทางโบราณคดีประเภทหนึ่ง สำหรับประเทศไทยก็คงอย่างเดียวกับที่เราเรียกโครงกระดูกมนุษย์โบราณที่มีความพิเศษอย่างเจ้าแม่โคกพนมดีเป็นต้น

กลับมาที่เรื่องราวของ Agvi เธอเป็นโครงกระดูกที่พบในถ้ำ Theopetra ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ตอนกลางของประเทศกรีซ ถ้ำธีโอเพตรานี้ปรากฏร่องรอยการใช้งานพื้นที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ราว 130,000 ปีมาแล้ว โดยได้มีการค้นพบ Agvi ตั้งแต่ปีค.ศ.1993

ภาพภายในถ้ำ Theopetra. credit : https://www.visitmeteora.travel

ลักษณะของถ้ำนี้มีความเหมาะสมในการพักพิงสำหรับมนุษย์ในยุคที่ยังอาศัยการล่าสัตว์-หาของป่าและยังไม่มีการตั้งถิ่นฐาน เพราะมีแหล่งน้ำภายในที่สะอาด ขนาดของถ้ำที่เหมาะกับการพักพิง จึงไม่แปลกที่มนุษย์ในยุคโบราณที่สัญจรผ่านจะแวะมาใช้ถ้ำนี้ในการอยู่อาศัย หนึ่งในนั้นก็คือ Agvi นั่นเองซึ่งเธอเข้ามาอยู่ที่นี่เมื่อราว 9,000 ปีที่แล้ว และใช้ชีวิตอยู่ในสมัยปลายยุคหินกลาง (Mesolithic) ราว7,000 ปีมาแล้ว ช่วงเวลาที่มนุษย์เปลี่ยนจากสังคมการล่าสัตว์-หาของป่าสู่การตั้งถิ่นฐานสังคมกสิกรรม จัดว่าเป็นช่วงเวลาสำคัญในหน้าโบราณคดีทีเดียว

The head of Avgi. credit : https://yougoculture.com/

ในการที่จะฟื้นใบหน้าของอัควีให้มีชีวิตนั้นไม่ใช่เรื่องเล็กเลย ต้องอาศัยทั้งนักวิทยาต่อมไร้ท่อ (Endocrinologist), แพทย์ออร์โธพีดิกส์ (Orthopedist), นักประสาทวิทยา (Neurologist), นักพยาธิวิทยา (Pathologist) และนักรังสีวิทยา (Radiologist) เรียกว่าผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ เกี่ยวมนุษย์มารุมกันวิเคราะห์ตัว  Agvi กันเต็มที่

เริ่มจากทันตแพทย์จัดฟัน (Orthodontist) นามว่า Manolis Papagrigorakis ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มโครงการเพื่อคืนใบหน้าให้กับสาวยุคก่อนประวัติศาสตร์คนนี้ โดย Manolis สันนิษฐานว่ากระดูกของอัควีเป็นของมนุษย์เพศหญิงอายุ 15 ปี ส่วนสภาพฟันของเธอน่าจะอายุราว 18 ปี บวกลบไม่มากเกิน 1 ปีราวๆ นี้

นอกจากการศึกษาของแพทย์สาขาต่างๆ หน้าที่ในการสร้างหน้าของ Agvi คือนักโบราณคดีผู้ยังเชี่ยวชาญงานปั้น โดยเฉพาะการปั้นใบหน้ามนุษย์โบราณอย่าง Oscar Nilsson นักโบราณคดีชาวสวีเดนที่มีความสนใจในเรื่องราวของมนุษย์ยุคหิน

ในการทำงานโดยอาศัยข้อมูลจากแพทย์สาขาต่างๆ นีลสันได้เริ่มการสร้างใบหน้าหลังการสแกนกะโหลกของอัควีด้วย CT-Scan ซึ่งจะทำให้ได้ภาพของกะโหลกและมวลกะโหลกพร้อมรายละเอียดอย่างชัดเจนมากกว่าการมองด้วยตาเปล่า

หลังจากนั้นขั้นตอนของการพิมพ์ภาพ 3 มิติทำให้เราได้ภาพซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นใบหน้าของ Agvi ในที่สุด ออสการ์ นีลสันได้ทำการปั้นใบหน้าจากการวางหมุดและขึ้นร่างกล้ามเนื้อทีละมัดจนได้ใบหน้าที่สมบูรณ์สอดคล้องกับภาพพิมพ์สามมิติในที่สุด

credit : https://whaleshares.io/@tygertyger
credit : https://whaleshares.io/@tygertyger
Credit: Oscar Nilsson
Credit: Oscar Nilsson ภาพจาก https://www.thesun.co.uk/tech/5412935/teenager-9000-years-old-face-reconstructed-scientists/

สีของดวงตาและผมนั้น สันนิษฐานจากลักษณะทางเชื้อชาติของคนในพื้นที่ สภาพของ Agvi ที่มีอายุน้อยค่อนข้างโดดเด่นกว่าใบหน้าอื่นๆ ที่นีลสันเคยทำขึ้น เธอมีกล้ามเนื้อดูแข็งแรงไปทุกส่วน แตกต่างกับใบหน้าของคนเอเธนส์ในยุค 430 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งแม้เป็นเพศเดียวกัน อายุไล่เลี่ยกัน แต่กลับมีความนุ่มนวลกว่า กล้ามเนื้อน้อยกว่า ทางทีมสันนิษฐานว่าเป็นเพราะการเปลี่ยนวิถีชีวิตจากการเร่ร่อนมาสู่การตั้งถิ่นฐาน กาลเวลาได้สร้างความละเมียดละไมให้กับมนุษย์มากขึ้น เนื่องด้วยไม่ต้องพยายามล่าสัตว์หรือแสวงหาที่พักเหมือนแต่ก่อนนั่นเอง พูดง่ายๆ การมีชุมชนเกิดขึ้น ทำให้มนุษย์เราสบายกันมากขึ้น ไม่ต้องลำบากในการหาอาหารโดยเฉพาะผู้หญิงที่จะทำงานอยู่กับบ้าน ทิ้งหน้าที่หากินเป็นเรื่องของผู้ชาย

สภาพกรามของAgviค่อนข้างยื่นออกมาและแข็งแรง เนื่องจากการต้องเคี้ยวหนังสัตว์เพื่อทำให้มันนุ่มขึ้นสามารถใช้งานได้ จากการปั้นให้ออกมาใบหน้าดูเคร่งเครียดบึ้งตึงแบบนี้ ทางนายแพทย์Papagrigorakisผู้ริเริ่มโครงการหยอกล้อกับทางสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า “คงเป็นการยากที่จะใช้ชีวิตแบบไม่เหวี่ยงในสภาพสังคมยุคแบบนั้น” เป็นการสื่อถึงทัศนะที่มองถึงความลำบากและต้องเอาตัวรอดในยุคหินนั่นเอง

ตอนนี้รูปปั้นของอัควีจัดแสดงอยู่ที่ Acropolis Museum ในเมือง Athen หากใครมีโอกาสได้ไปเอเธนส์ก็ลองไปชมใบหน้าของ Agvi กันได้นะคะ ส่วนสาเหตุการตายของเธอทางนักโบราณคดีก็ยังไม่สามารถระบุได้ อย่างไรก็ตาม การได้เห็นใว่าคนสมัยนั้นหน้าตาเป็นยังไงก็เท่สุดๆ แล้ว


REFERENCES

Sarah Gibbens.(JANUARY 19, 2018).”Face of 9,000-Year-Old Teenager Reconstructed“.National Geographic. Available from : https://www.nationalgeographic.com/news/2018/01/archaeology-agvi-greek-stoneage-facial-reconstruction/

Sean Keach(JANUARY 24, 2018).”Scientists reconstruct 9,000-year-old teenager’s face, and she looks seriously masculine“.The Sun.Available from : https://www.thesun.co.uk/tech/5412935/teenager-9000-years-old-face-reconstructed-scientists/

ใส่ความเห็น

Please log in using one of these methods to post your comment:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.